รูปภาพไซโตพลาสซึม |
ไซโทพลาซึม ( Cytoplasm ) มีลักษณะเป็นของเหลว ประกอบด้วยสารที่สำคัญปนอยู่ คือ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และเกลือแร่ต่างๆ รวมทั้งของเสียที่เกิดขึ้น ไซโทพลาซึมเป็นศูนย์กลางการทำงานของเซลล์ เกี่ยวกับเมตาโบลิซึม ทั้งกระบวนการสร้างและสลายอินทรียสาร ไซโทพลาซึมประกอบด้วยส่วนประกอบภายในที่อาจเรียกว่า อวัยวะของเซลล์ organelle มีหน้าที่แตกต่างกัน ได้แก่
1) ร่างแหเอนโดพลาซึมหรือเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (endoplasmic reticulum) มีลักษณะเป็นท่อแบนใหญ่หรือกลม บางบริเวณโป่งออกเป็นถุงเรียงขนานและซ้อนกันเป็นชั้นๆ ภายในมีของเหลวบรรจุอยู่ และมีท่อเชื่อมถึงกันเป็นร่างแหอยู่ล้อมรอบนิวเคลียสและเชื่อมกับถุงเยื่อหุ้มนิวเคลียส ที่ผิวนอกของเอนโดพลาสมิกเรติคูลัมบางบริเวณมีไรโบโซมเกาะติดอยู่ทำให้มองดูคล้ายผิวขรุขระ เรียกว่า เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ (rough endoplasmic reticulum : RER) บางบริเวณไม่มีไรโบโซมเกาะอยู่เรียกว่า เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ (smooth endoplasmic reticulum : SER)
ร่างแหเอนโดพลาซึมหรือเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม |
2) กอลจิคอมเพลกซ์ (golgi complex หรือ golgi bodies หรือ golgi apparatus) เป็นกลุ่มของถุงกลมแบนขนาดใหญ่ บริเวณตรงชอบโป่งพองใหญ่ขึ้น กอลจิคอมเพล็กซ์มักพบอยู่ใกล้กับ ER มีในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ชั้นสูงเกือบทุกชนิด ทำหน้าที่เติมกลุ่มคาร์โบไฮเดรตให้กับโปรตีนหรือลิพิดที่ส่งมาจาก ER เกิดเป็นไกลโคโปรตีนและไกลโคลิพิด แล้วสร้างเวสิเคิลบรรจุสารเหล่านี้ไว้เพื่องส่งออกไปภายนอกเซลล์หรือเก็บไว้ใช้ภายในเซลล์ ดังนั้นเวสิเคิลจึงเป็นส่วนหนึ่งของกอลจิคอมเพล็กซ์ที่สร้างเป็นถุงออกมา
รูปภาพแสดงกอจิคอมแพลกซ์ |
3) ไมโทคอนเดรีย ( mitochondria ) เป็นแหล่งสร้างพลังงานของเซลล์ พบโดย คอลลิคเกอร์(Kollicker) รูปร่างลักษณะส่วนใหญมuรูปร่างกลม ท่อนสั้น ท่อนยาว หรือกลมรีคล้ายรูปไข่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.2 - 1 ไมครอน ยาว 5 - 7 ไมครอน ประกอบด้วยสารพวกโปรตีนและไขมัน ไมโทคอนเดรียเป็นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ชั้นนอกผิวเรียบ ส่วนชั้นในพับเข้าไปด้านใน เรียกว่า คริสตี (cristae) ภายในไมโทคอนเดรียมีของเหลวซึ่งประกอบด้วยสารหลายชนิด เรียกว่า เมทริกซ์ (matrix) จำนวน ของไมโทคอนเดรียในเซลล์แต่ละชนิดจะมีจำนวนไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับชนิดและ กิจกรรมของเซลล์ เซลล์ที่มีเมแทบอลิซึมสูงจะมีไมโทคอนเดรียมาก เช่น เซลล์ตับ ไต กล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์ต่อมต่างๆ ไมโทคอนเดรียมี DNA เป็นของตัวเอง ทำให้ไมโทคอนเดรียเพิ่มจำนวนได้ และสังเคราะห์โปรตีนที่จำเป็นต่อการทำงานของไมโทคอนเดรียได้ หน้าที่ของไมโท คอนเดรีย คือ เป็นแหล่งสร้างพลังงานของเซลล์โดยการหายใจระดับเซลล์ในวัฏจักรเครบส์ที่เมทริกซ์ และการถ่ายทอดอิเล็กตรอนที่ คริสตี
รูปภาพแสดงลักษณะของไมโตรคอนเดรีย |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น